ไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การปรับปรุงดินเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน

การปรับปรุงดินเป็นหัวใจหลักของระบบเกษตรกรรมยั่งยืน 

       
การปรับปรุงดิน
การปรับปรุงดิน




           ถ้าดินมีความสมบูรณ์ผลผลิตที่ได้ก็จะดี มีคุณภาพสูง ต้นทุนการผลิตต่ำ และช่วยให้งานในไร่นาเบาลง หลายคนเข้าใจผิดว่าการทำเกษตรยั่งยืน โดยเฉพาะในรูปแบบเกษตรอินทรีย์หมายถึงการไม่ใช้สารเคมีเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วหากดินไม่สมบูรณ์ก็ไม่มีทางจะประสบผลสำเร็จ


           ดินที่ดีคือดินในป่า เพราะมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ประการในการสร้างปุ๋ยธรรมชาติซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นปุ๋ยที่ดีที่สุดในโลก คือ

           1) อินทรีย์วัตถุ โดยมีทั้งใบไม้ กิ่งไม้ต่างๆ ที่ทับถมกัน รวมทั้งมีสัตว์จำพวกแมลง ไส้เดือน มด ปลวก เป็นต้น ที่สามารถย่อยสลายได้
           2) ความชื้น
           3) จุลินทรีย์ ซึ่งจะไปย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้กลายฮิวมัส

           ที่สำคัญการที่ดินในป่ายังไม่ถูกทำลายก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ปุ๋ยธรรมชาติจากป่ามีคุณภาพดีมาก อย่างเช่น ดินในป่าเขาใหญ่ที่ดินเพียงหนึ่งช้อนชามีจุลินทรีย์ถึงหกพันล้านตัว ขณะที่ดินที่เสื่อมสภาพกลับมีจุลินทรีย์ไม่ถึงร้อยล้านตัว ดังนั้น เป้าหมายสำคัญของการปรับปรุงดินของเกษตรกรก็คือ การทำให้ดินในไร่นามีสภาพเป็นเหมือนในป่า

การใส่ปุ๋ยเคมีซึ่งจะส่งผลให้ดินเสียเร็ว
การใส่ปุ๋ยเคมีซึ่งจะส่งผลให้ดินเสียเร็ว


           ขณะที่ดินในปัจจุบันมักถูกทำลายคนทั่วไปมักแก้ไขปัญหาดินเสื่อมด้วยการซื้อปุ๋ยเคมีมาใส่ โดยคิดกันว่าปุ๋ยเคมีเป็นตัวบำรุงดิน แต่ที่จริงแล้วปุ๋ยเคมีส่งผลในการทำลายดินอย่างมาก เนื่องจากปุ๋ยเคมีมีธาตุอาหารไม่เกิน 3 ตัว คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรตัสเซียม ดังเช่นปุ๋ยเคมีที่ใช้กันในแถบ จ.สุพรรณบุรี ก็มีธาตุอาหารเพียงใช้สองตัวเท่านั้น คือ เอ็นกับพีตามสูตร 16-20-0 ขณะที่ธาตุอาหารที่พืชแต่ละชนิดต้องการนั้นมีไม่ต่ำกว่า 18 ชนิด แม้ว่าบางชนิดอย่างเช่นไฮโดรเจนกับออกซิเจนจะมาจากน้ำ มาจากน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศ ส่วนไนโตรเจนบางส่วนก็มาจากอากาศได้ก็ตาม แต่ธาตุอาหารที่เหลืออีกสิบกว่าชนิดอย่างเช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ฯลฯ ก็จะต้องถูกพืชดึงเอามาจากดินมากขึ้น กระทั่งในดินไม่เหลือธาตุอาหารอะไรอีกเลย อีกทั้งยังทำให้ดินแข็ง แน่น หรือที่เรียกว่าโครงสร้างดินเสีย ที่สำคัญการใส่ปุ๋ยเคมีไม่เพียงไม่ส่งผลต่อการบำรุงดินจริงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อดินโดยตรงด้วย อย่างเช่นปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 จะให้ไนโตรเจนในรูปของไนเตรท ซึ่งไนเตรทก็คือสารเคมีที่ส่วนมากจะอยู่ในรูปของกรดที่มีผลทำให้ดินเปรี้ยว เมื่อดินเปรี้ยวพืชก็ไม่สามารถดูดอาหารได้ตามเดิมเพราะมีความเปรี้ยวจับไว้ ดังนั้น ไนโตรเจนที่ใส่ไปจึงไม่ถูกใช้ประโยชน์ ส่วนฟอสฟอรัสก็จะอยู่ในรูปฟอสเตรท ซึ่งเป็นกรดเหมือนกัน ใส่ไปยี่สิบกิโลก็ไม่ได้ทั้งหมด และส่งผลให้ดินเป็นกรดมากยิ่งขึ้น หากไม่เป็นกรดก็เป็นเกลือ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ส่งผลทำให้จุลินทรีย์ตายไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ธาตุอาหารในปุ๋ยเคมีก็จะมีอยู่เพียงประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น กล่าวคือ ปุ๋ยเคมี 100 กิโลกรัม จะมีธาตุอาหารอยู่เพียง 36 กิโล อีก 64 กิโลกรัมที่เหลือมักเป็นดินเหนียว

ปุ๋ยเคมีที่เกษตกรนิยมใช้กัน
ปุ๋ยเคมีที่เกษตกรนิยมใช้กัน


           สภาพดินสัมพันธ์โดยตรงกับสภาพสังคม ถ้าดินไม่ดีทุกอย่างก็ไม่ดี สุขภาพไม่ดี สังคมก็เสื่อม คนก็อยู่ไม่ได้ นักวิจัยฝรั่งค้นพบว่า อาณาจักรโรมันในช่วงที่เฟื่องฟูสูงสุดนั้น สภาพดินของเขาดีมาก และความเสื่อมของอาณาจักรก็เกิดขึ้นพร้อมๆ กับความเสื่อมของดิน เราอย่ามองแค่ว่าดินไม่ดีก็แก้ง่ายๆ ด้วยการใส่ปุ๋ย แต่เราจำเป็นต้องเข้าใจระบบของดิน แม้ปัจจุบันจะมีกระแสความนิยมการใช้น้ำหนักชีวภาพหรือน้ำหมักจุลินทรีย์ แต่หัวใจของการบำรุงดินนอกจากจุลินทรีย์แล้ว ต้องมีความชื้นและอินทรีย์วัตถุที่เหมาะสมด้วย ดังนั้นการวิจัยด้านการปรับปรุงบำรุงดินของสมาชิกในโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อจะนำมาสู่ปัญญาหรือหนทางในการฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ได้




ทนัญชัย อริยเกศมงคล
สวนไผ่อริยะ@ระยอง
Line : tapootom
Tel : 086-3572098
https://www.facebook.com/ariyabamboo
http://ไผ่ตงลืมแล้ง.blogspot.com
E-mail : tapoo.tom@gmail.com