ไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

สร้างรายได้ตลอดทั้งปีกับไผ่ตงลืมแล้ง

ไผ่ตงลืมแล้งพืชที่ปลูกง่าย ตายยาก โตเร็ว

กอของไผ่ตงลืมแล้ง
กอของไผ่ตงลืมแล้ง


            สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งอุปโภคและบริโภค เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงเกษตรกรชาวสวนนิยมนำมาปลูก โดยพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำสมบูรณ์จะได้เปรียบมากกว่า เพราะถ้าสามารถผลิตหน่อไผ่ให้ออกนอกฤดูได้ ไผ่ตงลืมแล้งจัดเป็นไม้ขนาดใหญ่มีเส้น ผ่าศูนย์กลางรอบลำต้นประมาณ 6-12 เซนติเมตรจัดอยู่ประเภทไผ่ไม่มีหนามทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ลำปล้องยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร หน่อมีน้ำหนักตั้งแต่ 1-3 กิโลกรัมหน่อรับประทานสดหรือแปรรูปก็ได้มีมากแทบทุกพื้นที่ เนื่องจากเป็นพืชที่ดูแลง่าย และไม่มีแมลงหรือโรคพืชรบกวนเหมือนพืชชนิดอื่นๆ ทั่วไป และที่สำคัญไผ่ตงลืมแล้งมีผลผลิตให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวไปจำหน่ายเป็นรายได้ตลอดทั้งปี มีตลาดรองรับทั้งในและนอกประเทศแต่มีเกษตรกรบางรายเพิ่มผลผลิตให้กับตัวเองด้วยการทำหน่อไม้หมก หรือตงหมก หรือตงหวานเป็นหน่อไม้ที่ตลาดต้องการมากราคาสูงกว่าหน่อไม้ไผ่ธรรมดามาก เนื่องจากรสชาติและคุณภาพของหน่อจะดีกว่า ลักษณะของหน่อไม้หมกจะเป็นหน่อที่อวบเนื้อขาวอ่อนนิ่มและหวานกรอบสามารถสังเกตความแตกต่างได้คือ สีของหน่อจะเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนหน่อไม้ธรรมดาหรือที่ไม่ได้หมกสีจะออกน้ำตาลดำมีนวล ฤดูที่เหมาะในการทำหน่อไม้หมกคือช่วงฤดูฝนประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงหน่อไม้เริ่มแทงหน่อ การทำหน่อไม้หมกคือการป้องกันไม่ให้หน่อไม้ถูกแสงแดด

ซึ่งมีวิธีที่นิยมทำกันหลักๆ 2 วิธีคือ


           1.ใช้ขี้เถ้าแกลบซึ่งในฤดูฝนช่วงที่หน่อไม้โผล่พ้นดินได้ ประมาณ 2-3 นิ้วให้เอาปี๊บก้นทะลุหรือเข่งทะลุใบเล็กๆ มาครอบหน่อแล้วเอาขี้เถา แกลบใส่ให้เต็มพอหน่อไม้ไผ่โตสูงพ้นปี๊บมาประมาณ 1 นิ้วก็เอาปี๊บและขี้เถาแกลบออกแล้วตัดหน่อได้เลย การหมกวิธีนี้มีข้อดีหลายประการเช่นตัดหน่อได้ง่ายหน่อไม่สกปรกและทำให้หน่อหวานเนื่องจากขี้เถ้าแกลบมีธาตุอาหารโปแตสเซียมอยู่ด้วย

ตัวอย่างการทำหน่อไม้ตงลืมแล้งหมก
ตัวอย่างการทำหน่อไม้ตงลืมแล้งหมก



ตัวอย่างการทำหน่อไม้ตงลืมแล้งหมก
ตัวอย่างการทำหน่อไม้ตงลืมแล้งหมก



           2.ในกรณีที่หาขี้เถ้าแกลบและปี๊บไม่ได้ก็สามารถใช้ดินบริเวณรอบๆ กอไผ่นำมาพอกปิดหน่อให้สูงประมาณ 1 ศอกพอหน่อพ้นดินที่พอกได้ประมาณ 1 นิ้วก็ทำการตัดหน่อออกจำหน่ายได้เลย การทำหน่อไผ่ตงหมกหรือหน่อไม้หวานโดยวิธีใช้ดินพอกมีข้อเสียคือ ทำให้เราไม่สามารถเลี้ยงลำแม่ที่แข็งแรงได้และสมบูรณ์ที่สุดได้เนื่องจาก เราขุดหน่อไปขายจนลืมนึกถึงลำแม่หรือบางทีนึกได้แต่ไม่ทราบตำแหน่งของหน่อที่ควรจะเป็นลำแม่เพราะถูกดินกลบไว้ฉะนั้นลำที่ปล่อยเป็นลำแม่อาจเป็นลำที่ไม่ดีพอรวม ทั้งการกำหนดระยะห่างและการเดินกอก็ทำได้ยากและเมื่อมีการพรวนดินขึ้นทุกปีแล้ว ไม่มีการเอาดินออกหรือเอาออกไม่หมดจะทำให้กอไผ่ลอยเป็นผลให้กอไผ่ทรุดโทรมได้เร็วและออกหน่อน้อยในปีต่อไป


           เกษตรกรที่ประสบความล้มเหลวมาในการปลูกไผ่ตงเมื่อครั้งอดีตนั้นส่วนมากใช้พันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งที่ขยายพันธุ์ ต่อจากต้นที่มีอายุมาก เมื่อนำมาปลูกได้ไม่นานต้นไผ่ก็จะออกดอกและตายขุย ซึ่งแนวทางที่แก้ไขได้คือจะต้องขยายพันธุ์จากต้นที่มีอายุน้อยหรือต้นพันธุ์จากการเพาะเมล็ด ไผ่เป็นพืชที่มีอายุยืนอยู่ได้ถึง 80 ปี เมื่อเราขยายพันธุ์ด้วยการตอน หรือชำกิ่งต่อๆ กันมาเมื่อต้นแม่พันธุ์อายุได้ 80 ปี ไผ่ทุกต้นที่ได้จากการตอนกิ่งแม่ต้นนั้นอายุก็จะเท่ากับต้นแม่และจะตายขุยพร้อมกันถึงแม้ต้นนั้นจะปลูกไปได้ 1 ปี ก็ตายได้ ไม้ไผ่ตงลืมแล้งนี้เมื่อเติบโตเต็มที่ให้ผลผลิตสูงถึง 20-25 กก.ต่อกอมีตลาดรองรับตลอดทั้งปี


           เริ่มแรก เราก็เตรียมสถานที่ โดยมีการยกร่องสวนไว้เดิมแต่ก่อนหน้านั้นและมีน้ำสมบูรณ์ เราก็ไปติดต่อซื้อต้นกล้าไผ่ตงลืมแล้ง มาจากเกษตรกรที่เขาจำหน่ายต้นชำให้ ในราคาต้นละ 60 บาท จากนั้นนำต้นกล้ามาปลูกโดยเว้นระยะห่างต่อกอราว 3-5 เมตร แล้วใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักโรยไปตามโคนต้น จากนั้นก็ปล่อยทิ้งไว้ได้เลย มีเพียงแค่ดูแลรดน้ำเป็นระยะเวลาประมาณ 8 เดือนถึง 1 ปี


การเว้นระยะต้นไผ่ตงลืมแล้ง
การเว้นระยะต้นไผ่ตงลืมแล้ง


           เมื่อไผ่ตงเจริญเติบโตขึ้น โดยส่วนใหญ่ก็จะแทงหน่อออกมาจำนวนมากน้อยก็อยู่ที่เราดูแล บำรุงรักษา แต่เมื่อแทงหน่อออกมามาก เราก็ต้องมีการตัดทิ้ง และไว้ลำต้นให้มีระยะห่างพอสมควร เพื่อให้มีช่องว่างในการที่จะแตกหน่อออกมาใหม่ ราว 1 ปี ก็จะได้ก่อไผ่ตงที่สมบูรณ์ สามารถเริ่มเก็บผลผลิตออกจำหน่ายได้แล้ว ส่วนเรื่องศัตรูพืชหรือโรคของไผ่ตงลืมแล้งนั้นแทบไม่มีเลย ดูแลรักษาง่าย จะมีบ้างก็เพียงหนูที่ชอบมากัดแทะทำลายหน่อไม้ แต่ก็เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น แล้วก็มีพวกแมลงประเภทที่ชอบเจาะหน่อและปล้องอ่อนเช่นด้วงงวงช้างรวมทั้งเพลี้ยแป้งที่ชอบเกาะอยู่ตามหน่ออ่อนหรือใบอ่อนเพื่ออาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงอันจะทำให้ยอดใบหงิกและชะงักการเจริญเติบโตซึ่งเราก็ต้องนำสารเคมีมาฉีดพ่นที่ลำต้นและใบอ่อนเป็นบางครั้งและราดที่หน่อที่รากไผ่ตงจะให้ผลผลิตทั้งปี สามารถเก็บขายได้ทุกๆ 2-3 วัน ราคาก็อยู่ที่ ว่าช่วงไหนผลิตออกมามากราคาก็ถูก โดยเฉาะหน้าฝนซึ่งผลผลิตจะออกมามาก แต่ในช่วงหน้าแล้ง ผลผลิตออกมาน้อย ราคาก็จะสูงในราวๆ กิโลกรัมละ 30-45 บาท เก็บขายที เป็นตันๆ ก็สร้างรายได้ให้ดีมาก ตลาดหลักที่รับซื้อ ก็คือตลาดไทยและตลาดสี่มุมเมือง แต่ในช่วงหน้าฝนนั้นแม้ราคาจะถูกลง แต่ก็จะมีโรงงานต่างๆ มารับซื้อเพื่อนำไปอัดใส่ปี๊บหรือทำหน่อไม้กระป๋องส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศแถบเอเชีย เช่น สิงคโปร ฮ่องกง ไต้หวัน ที่นิยมบริโภคหน่อไม้จากเมืองไทย

ข้อมูลดีดีจาก 
www.banmuang.co.th
www.kasetporpeang.com




ทนัญชัย อริยเกศมงคล
สวนไผ่อริยะ@ระยอง
Line : tapootom
Tel : 086-3572098
https://www.facebook.com/ariyabamboo
http://ไผ่ตงลืมแล้ง.blogspot.com
E-mail : tapoo.tom@gmail.com

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

การส่งไผ่ตงลืมแล้งและพันธุ์ไม้อื่นทางไปรษณีย์

อยากส่งไผ่ตงลืมแล้งทางไปรษณีย์ทำไงดี

           หลายคนที่คิดอยากจะส่งไผ่ตงลืมแล้งหรือพันธุ์ไม้ต่างๆไปให้ญาติหรือลูกค้าของสวนเราทางไปรษณีย์คงจะมีความกังวนอยู่บ้างว่าหากเราทำการบรรจุกิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งหรือพันธุ์ไม้ต่างๆลงกล่องแล้วกล่องจะฉีกขาดหรือมีความเสียหายหรือไม่ วันนี้ผมเรยอยากเอาวิธีการบรรจุกิ่งไผ่ตงลืมแล้งเพื่อส่งไปรษณีย์มาฝากกันครับ

           เริ่มแรกเราจะต้องมาพิจารณาดูว่าสิ่งของที่เราจะส่งมีขนาดเท่าไหร่จะต้องใช้กล่องบรรจุขนาดไหนเพื่อทีจะได้ไม่เสียค่าส่งไปรษณีย์มากจนเกินไปนัก และเมื่อเราได้วัสดุที่จะใช้บรรจุไผ่ตงลืมแล้งหรือพันธุ์ไม้อื่นๆมาแล้วเราจะมาทำการบรรจุไผ่ตงลืมแล้งหรือพันธุ์ไม้ของเรากันผมจะอธิบายให้เข้าใจทีละขั้นเรยนะครับผม
การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

        เริ่มแรกเราก็ทำการจัดหาวัสดุเพื่อนำมาบรรจุกิ่งไผ่ตงลืมแล้งหรือกิ่งพันธุ์ไม้อื่นๆที่เราต้องการจะส่ง


การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง


การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

 หลังจากนั้นเราจะมาเตรียมอุปกรณ์เพิ่มเติมกันได้แก่
           1.มีดคัตเตอร์ หรือกรรไกร
           2.เทปทีจะใช้ในการปิดกล่อง (ควรเลือกเทปที่มีความเหนียวพอสมควรถึงจะแพงหน่อยแต่ก็ดีกว่าของที่เราจะส่งเสียหายนะครับ)

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           เราจะมาทำการปิดด้านล่างของกล่องกันก่อนนะครับขอเน้นว่าด้านล่างของกล่องควรจะต้องทำให้มีความแข็งแรงมากที่สุดเพราะเป็นด้านที่จะต้องรับน้ำหนักทั้งหมดของพัสดุที่เราจะส่งครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           พับด้านล่างของกล่องตามที่เราต้องการจากนั้นให้นำเทปกาวมาติดตามด้านยาวโดยให้จุดเริ่มติดต่ำกว่าขอบของกล่องประมาณ 2 นิ้วครับเพื่อให้เทปกาวมีแรงยึดเกาะที่ดีขึ้น

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง
         
           ในการติดเทปกาวครั้งแรกนั้นจะต้องติดที่กึ่งกลางของกล่องระหว่างฝากล่องทั้งสองด้านหากเยื่องไปทางใดทางหนึ่งมากไปกล่องอาจจะหลุดและทำให้กิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งและพันธุ์ไม้อื่นๆเสียหายได้
การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           หลังจากติดเทปรอยแรกแล้วจะได้สภาพของกล่องตามรูปด้านบนครับแต่แค่นี้ยังไม่พอนะครับเพราะความแข็งแรงยังไม่ได้กล่องอาจจะขาดได้ครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           เราจึงต้องทำการติดเทปกาวซ้ำทั้งสองด้านตามรูปนะครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           ในการติดเทปเพื่อเพิ่มความแข็งแรงนั้นจะต้องติดให้เยื้องกับแนวกลางกล่องนิดหน่อยนะครับจะทำให้พื้นที่ในการยึดเกาะมีมากที่สุดครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           หลังจากนั้นก็ทำเหมือนกันอีกด้านของเทปกาวครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

            ติดซ้ำตรงแนวกลางอีกครับก็เรียบร้อยกับแนวตรงกลางครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           มาถึงแนวด้านข้างจะทำการติดเทปกาวคล้ายๆกับแนวกลางครับโดยจะต้องติดเทปกาวให้เหลือหัวท้ายประมาณด้านละ 2 นิ้วครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

            จากนั้นให้ปิดหัวท้ายทั้งด้านซ้ายและขวาก่อนเป็นอันดับแรก

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง
       
           แล้วเราก็ติดเทปตรงกลางให้หมด

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

            ก็จะเหลือด้านข้างลักษณะตามรูปครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง
       
           ให้เราดันเทปกาวที่เหลือปิดไปกับกล่องครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           หลังจากนั้นก็ให้ติดเทปด้านบนและด้านล่างของเทปกาวเหมือนกับแนวกลางในครั้งแรกครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง
   
            ปิดเทปแนวกลางอีกรอบ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           ติดเทปตามแนวขวางของกล่องเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการรับน้ำหนักครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

           หลังจากนั้นก็สามารถนำกิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งหรือพันธุ์ไม้อื่นๆลงกล่องได้เรยครับ เมื่อบรรจุเสร็จแล้วก็ทำการปิดกล่องโดยทำในลักษณะเดียวกันกับที่ปิดด้านล่างของกล่องครับ

การแพ็คกิ่งไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

            เพียงเท่านี้เราก็สามารถส่งกิ่งพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งหรือกิ่งพันธุ์ไม้อื่นๆทางไปรษณีย์ได้แล้วครับ
ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับหลายๆท่านนะครับเพราะหากเราบรรจุไม่ดีก็จะเกิดความเสียหายแก่พัสดุซึ่งอาจจะสร้างความเสียหายกับพัสดุของผู้อื่นอีกด้วย นั่นหมายถึงต้นทุนที่เราจะต้องเสียไปเฉยๆเพียงเพราะการบรรจุหีบห่อง่ายๆเหล่านี้นะครับ ขอบคุณครับ





ทนัญชัย อริยเกศมงคล
สวนไผ่อริยะ@ระยอง
Line : tapootom
Tel : 086-3572098
https://www.facebook.com/ariyabamboo
http://ไผ่ตงลืมแล้ง.blogspot.com
E-mail : tapoo.tom@gmail.com

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

การดูแลไผ่ตงลืมแล้งในหน้าหนาว

ไผ่ตงลืมแล้งในหน้าหนาว
ไผ่ตงลืมแล้งในหน้าหนาว

เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูหนาวใครๆก็คงจะมีความสุข

           จากอากาศที่เย็นหลังจากที่ผ่านหน้าร้อนที่แสนทรมานมาได้ แต่เนื่องจากฤดูหนาว อากาศจะแห้ง ความชื้นในอากาศจะลดต่ำลง สวนที่เป็นไม้เขตร้อน มักจะเข้าสู่ระยะพักตัว มีการผลัดใบ เพื่อลดการคลายน้ำ ให้น้อยลง ดังนั้นหากสวนของใครที่มีไม้เมืองร้อนอย่างไผ่ตงลืมแล้ง ฤดูหนาวคงเป็นช่วงเวลาที่สวนไผ่ตงลืมแล้งของใครหลายๆ คนไม่น่าดูเท่าไหร่นัก วันนี้ผมจึงนำวิธีการดูแลรักษาไผ่ตงลืมแล้งในหน้าหนาวมาฝากกันครับ


          หัวใจสำคัญของการดูแลต้นไม้หน้าหนาวก็คือ การรักษาความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้ หาวัสดุอย่างเช่น ฟางข้าว หรือเปลือกถั่ว มาคลุมหรือโรยบริเวณโคนต้นไม้ หรือแปลงปลูก เพื่อเก็บรักษาความชื้นในดิน


 


 

การให้น้ำไผ่ตงลืมแล้ง


           ทำการลดน้ำให้ถี่ขึ้น แต่อย่าใช้วิธีปล่อยน้ำแช่ตลอดเวลา เพราะดินจะแฉะจนเกินไป ควรปล่อยให้พื้นดินแห้งบ้าง เพื่ออากาศสามารถลงแทรกไปในดินได้บ้าง เพื่อให้รากสามารถได้รับอากาศด้วย นอกจากนี้ การรอน้ำต้นไม้ด้วยสปริงเกิล ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่ง นอกเหนือจากจะเป็นการรดน้ำตามปกติ ยังเป็นการเพิ่มความชื้นในอากาศได้ด้วย


 

การให้น้ำไผ่ตงลืมแล้งในหน้าหนาว
การให้น้ำไผ่ตงลืมแล้งในหน้าหนาว

 

การตัดแต่งกิ่งไผ่ตงลืมแล้ง


          การตัดแต่งกิ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะช่วยให้ต้นไม้ลดการคลายน้ำลงได้ และช่วยลดภาระให้ไผ่ตงลืมแล้งไม่ต้องลำเลียงอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากนัก โดยเลือกตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการ กิ่งที่ผุ หรือแห้ง ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดจากกิ่งที่เยอะของไผ่ตงลืมแล้ง เนื่องจากลมที่พัดแรงในหน้าหนาว


 

ตัดแต่งกิ่งไผ่ตงลืมแล้งในหน้าหนาว
ตัดแต่งกิ่งไผ่ตงลืมแล้งในหน้าหนาว

 

การให้ปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง

           สำหรับในเรื่องของการให้ปุ๋ยแก่ต้นไม้ในช่วงฤดูหนาว จะต้องให้ปุ๋ยด้วยความระมัดระวัง การให้ปุ๋ยจะแตกต่างจากการให้ปุ๋ยในช่วงฤดูฝนซึ่งสามารถให้ปุ๋ยได้บ่อยครั้ง แต่เนื่องจากอากาศที่เย็นจะทำให้ปุ๋ยแตกตัวได้น้อยลง จึงทำให้ปุ๋ยมีโอกาสตกค้างในดินเป็นปริมาณมาก มีโอกาสที่จะทำให้ดินเค็ม ดังนั้นเมื่อทำการให้ปุ๋ยควรจะทำการรดน้ำด้วยปริมาณที่มากกว่าเดิม หรือลดปริมาณปุ๋ยเคมีลงและหันไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน


ปุ๋ยที่เตรียมไว้ใส่ไผ่ตงลืมแล้ง
ปุ๋ยที่เตรียมไว้ใส่ไผ่ตงลืมแล้ง


           หวังว่าข้อมูลเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายที่ปลูกไผ่ตงลืมแล้งและต้องการดูแลต้นไผ่ในช่วงหน้าหนาวไม่มากก็น้อยนะครับ







ทนัญชัย อริยเกศมงคล
สวนไผ่อริยะ@ระยอง
Line : tapootom
Tel : 086-3572098
https://www.facebook.com/ariyabamboo
http://ไผ่ตงลืมแล้ง.blogspot.com
E-mail : tapoo.tom@gmail.com


 

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ทำเองถูกกว่าซื้อ...ปุ๋ยอินทรีย์ฉบับบ้านๆ

ทำเองถูกกว่าซื้อ...ปุ๋ยอินทรีย์ฉบับบ้านๆ

ปุ๋ยหมักสำหรับใส่ไผ่ตงลืมแล้ง
ปุ๋ยหมักสำหรับใส่ไผ่ตงลืมแล้ง

การทำปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญคือ

          1.วัสดุที่นำมาใช้
          2.อาหารของจุลินทรีย์
          3.การควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ


วัสดุที่นำมาใช้

วัดสุที่นำมาใช้มีความสำคัญมากเพราะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของปุ๋ยหมัก ถ้าหากเป็นวัสดุที่มีธาตุอาหารพืชอยู่มากก็จะได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพดี วัสดุดังกล่าวนี้อาจแบ่งอย่างง่าย ๆ ได้ 3 กลุ่มคือ

           ก. วัสดุที่ย่อยสลายได้ง่าย ได้แก่ ใบไม้ กิ่งก้านใบ และต้นของพืชตระกูลถั่วขนาดเล็ก ผักและผลไม้ ชิ้นส่วนของสัตว์ ใช้เวลาในการย่อยสลายเพื่อเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ภายใน 1 เดือน

ใบไม้แห้งที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักใส่ไผ่ตงลืมแล้ง
ใบไม้แห้งที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักใส่ไผ่ตงลืมแล้ง


           ข. วัสดุที่ย่อยสลายได้ปานกลาง ได้แก่ หญ้าแห้ง ฟางข้าว ต้นใบข้าวโพด กิ่งไม้ขนาดเล็ก    ใช้เวลาในการย่อยสลายจนเป็นปุ๋ยประมาณ 1.5 – 2 เดือน

ฟางข้าวทำปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
ฟางข้าวทำปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง


          ค. วัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก ได้แก่ ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด เปลือกไม้ยูคาลิปตัส ใช้เวลาการย่อยสลายจนเป็นปุ๋ยเกิน 2 เดือน


ขี้เลื่อยทำปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
ขี้เลื่อยทำปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง


อาหารจุลินทรีย์

           เนื่องจากวัสดุที่นำมาใช้มีความหลากหลายมากบางชนิด อาจมีอาหารพืชครบสามารถให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้โดยไม่ต้องใช้อาหารอื่นเพิ่มก็ได้ แต่ถ้ามีความต้องการให้กระบวนย่อยสลายเสร็จสิ้นเร็ว จำเป็นจะต้องได้สารอาหารเพิ่ม สารอาหารดังกล่าว ได้แก่
           ก. มูลสัตว์ต่าง ๆ
ขี้เลื่อยทำปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
ขี้เลื่อยทำปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
           ข. รำข้าว  กากถั่วเหลือง  ปลาป่น
รำข้าวที่ผสมทำปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
รำข้าวที่ผสมทำปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
           ค. น้ำตาลโมลาส
กากน้ำตาลเพื่อหมักปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง
กากน้ำตาลเพื่อหมักปุ๋ยไผ่ตงลืมแล้ง

           การใช้สารเหล่านี้ควรเลือกชนิดที่มีราคาถูก และหาได้ง่าย


การควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ

           ส่วนนี้มีความสำคัญมาก เพราะการย่อยสลายได้เร็ว หรือช้าขึ้นอยู่กับความพอดีของอุณหภูมิ และความชื้นที่ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ย่อยสลายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการทำปุ๋ยใช้เองควรให้มีขนาดกองที่พอเหมาะไม่เล็กเกินไป และไม่ใหญ่เกินไป และสามารถปฏิบัติงานได้ง่าย ควรมีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร สูง 1 เมตร ยาว 3-5 เมตร และควรมีวัสดุคลุมกอง เช่น กระสอบเก่า ๆ หรือพลาสติกเพื่อรักษาความชื้น และอุณหภูมิ

วิธีการทำ

           1. นำวัสดุที่ต้องการทำมากองกับพื้นที่ราบเสมอกัน สูงประมาณ 50 ซ.ม.

           2. นำอาหารจุลินทรีย์ เช่น มูลสัตว์ โรยลงส่วนบนของกองปุ๋ย ปริมาณที่ใช้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติวัสดุ ถ้าเป็นวัสดุย่อยง่ายใช้ในอัตรา มูลสัตว์ : วัสดุ = 1:10 วัสดุที่ย่อยสลายได้ปานกลางใช้อัตรา 1:5 ถ้าเป็นวัสดุย่อยยาก เช่น ซังข้าวโพด ใช้อัตรา 1:1 เสร็จแล้วใช้น้ำรดให้ทั่ว ให้ได้ความชื้นโดยรวมประมาณ 40-60% ทำการเหยียบบนกองปุ๋ยให้แน่น หลังจากเหยียบแล้วควรให้มีความสูง 50 ซ.ม. ถ้ายุบมากไปให้นำวัสดุใส่เพิ่ม

           3. ทำซ้ำตามข้อ 1 โดยกองทับบนกองเดิมจนได้ความสูงประมาณ 1 เมตร

           4. นำพลาสติก คลุมกองให้มิด ใช้วัสดุหนัก ๆ ทับชายพลาสติกโดยรอบ เพื่อกันลมพัดได้เปิดออก

เอาพลาสติกคลุม
เอาพลาสติกคลุม

           5. ทำการกลับกองทุก ๆ 7 วัน และสังเกตกองปุ๋ยว่ามีความชื้นมาก หรือน้อยเกินไป ไม่ถ้าความชื้นน้อยไปสามารถเติมน้ำได้ แต่ถ้าแฉะมากให้เปิดกองระบายความชื้นออก กองปุ๋ยที่ดีจะมีความร้อนขึ้นสูงในช่วง 7-15 วัน และจะเริ่มลดลงหลังจาก 20 วัน

           การทำปุ๋ยหมักให้ได้ดีผู้ปฏิบัติต้องเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยว่าความเหมาะสมอยู่ตรงไหน เพราะการปฏิบัติจริงนั้นมีปัจจัยภายนอกเกี่ยวข้องมาก ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้วิธีการควบคุม ข้อมูลที่ให้มาเป็นเพียงหลักเกณฑ์เชิงวิชาการหยาบ ๆ เท่านั้น การทำปุ๋ยใช้เองความเน้นเฉพาะวัสดุที่หาง่ายในไร่นา ในบ้าน และถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องซื้อควรเลือกวัดุที่มีราคาถูก ในกรณีที่ทำปุ๋ยหมักใช้เองเรื่องเวลาของการหมักอาจไม่มีความสำคัญมากนัก ถ้าหากว่าผู้ใช้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้เร็ว อาจทำการหมักทิ้งไว้ 2-3 เดือนก็ได้ โดยใช้วัสดุที่มีอยู่กองรวมกันดังกล่าว แต่ถ้าต้องการให้มีการเกิดเป็นปุ๋ยในเวลาที่สั้น จำเป็นที่จะต้องใช้มูลสัตว์เพิ่มขึ้น มากน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาใช้

***ข้อมูลดีดีจากศาสตราจารย์ ดร. นันทกร   บุญเกิด




ทนัญชัย อริยเกศมงคล
สวนไผ่อริยะ@ระยอง
Line : tapootom
Tel : 086-3572098
https://www.facebook.com/ariyabamboo
http://ไผ่ตงลืมแล้ง.blogspot.com
E-mail : tapoo.tom@gmail.com

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

ลดต้นทุนวัสดุเพาะพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งจากแกลบดำที่ทำเองได้ง่ายๆ....


ถ้าคุณทำเองได้แล้วจะไปหาซื้อทำไมเล่า...


          
แกลบดำสำหรับใช้เพาะพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้ง
แกลบดำสำหรับใช้เพาะพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้ง
           จากประสบการณ์ของผมเองที่จะเพาะพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งของสวนไผ่อริยะของผม เนื่องจากมีลูกค้าสนใจสั่งซื้อพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งเข้ามาเป็นจำนวนมากทำให้ผมเองต้องเพาะพันธุ์ไผ่เป็นการใหญ่ แ่ต่เจ้าวัสดุที่จะนำมาใช้เพาะไผ่ตงลืมแล้งอย่่างแกลบดำนี่สิมันช่างหายากและมีราคาค่อนข้างสูงเพราะในการซื้อแต่ละที ต้องใช้เงินจำนวนมากและต้องซื้อทีละหลายๆตันเพราะส่วนใหญ่โรงสีจะขายกันเป็นตัน ทำให้ต้องหารถ 6 ล้อไปขน ผมก็เลยลองไปค้นหาข้อมูลดูในแหล่งต่างๆตามประสาเกษตรกรตัวเล็กๆที่ไม่อยากให้สวนของตัวเองมีต้นทุนในการผลิตที่สูงจนเกินไปจนไปพบวิธีทำแกลบดำขึ้นมาใช้เองแบบง่ายๆ โดยลงทุนไม่กี่ร้อยบาท หรือบางคนอาจไม่ต้องใช้เงินเลยสักบาท แ่ต่ก่อนอื่นเรามารู้ข้อดีข้อเสียของแกลบดำกันก่อนดีกว่า


ข้อดีของแกลบดำ


1.มีแร่ธาตุโปตัสเซียมและแคลเซียม

2.มีรูมากมายซึ่งจะเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์

3.เมื่อนำไปคลุมดินหรือนำไปผสมกับอินทรีย์วัตถุอย่างอื่น ช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นเนื่องจากผ่านการย่อยสลาย

4.ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่หน้าดิน



           แกลบดำ เก็บความชื้นได้ดี สะอาด ไม่เป็นกรด นิยมใช้แกลบดำผสมในดินเพาะปลูกพืช เนื่องจากว่าจะช่วยเก็บความชื้นในดินและเนื่องจากว่าเป็นแกลบที่สะอาดเพราะผ่านการเผามาแล้วจึงช่วยลดปัญหาการติดโรคของพืชได้ 

ข้อเสียของแกลบดำ

1.มีราคาแพงกว่าแกลบดิบ
2.หาซื้อยาก 
3.หากเผาใช้เอง ควันอันเกิดจากการเผาจะมีกลิ่นฉุนพอสมควร ดังนั้นเมื่อจะเผา ควรหลีกเลี่ยงเผาในที่ชุมชน อันจะทำให้เกิดความรำคาญจากคนข้างเคียง

           หลังจากที่ได้ทราบคุณประโชยน์ที่เจ้าแกลบดำมีกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วท่านคงจะอยากรู้แล้วล่ะสิว่าแกลบดำที่ทั้งหายากและราคาสูงนั้นมันทำกันอย่างไร เราลองไปดูวิธีทำกันเลยครับ


วิธีทำแกลบดำ

           1. หาปี๊ปมาเจาะรูให้ทั่ว เพื่อระบายความร้อนจากเตาไฟ ที่จะใช้เผาแกลบดำ เจาะให้มากเท่าไรก็ได้ ส่วนขนาดของรูแล้วแต่เราครับ อันนี้ใช้เครื่องเชื่อมในการเจาะรู ส่วนสังกะสี ซื้อมาในราคา 150 บาท เพราะหาสังกะสีเก่าไม่ได้ ใครหาได้ก็ไม่ต้องซื้อ ส่วนปี๊ปได้มาฟรี งานนี้ลงทุนแค่150 บาท แกลบนั้น สามารถหาขอได้ฟรี ตามโรงสีทั่วไป

ปี๊บเจาะรูกับแผ่นสังกะสี
ปี๊บเจาะรูกับแผ่นสังกะสี

เจาะรูรอบปี๊บเพื่อให้ความร้อนออกมาได้
เจาะรูรอบปี๊บเพื่อให้ความร้อนออกมาได้




เจาะรูด้านบน เพื่อทำเป็นปล่องระบายความร้อน ขึ้นข้างบน เพื่อสังเกตควันไฟ ว่าเป็นสีดำหรือสีขาว



ปี๊บที่เจาะรูด้านบนเพื่อเป็นปล่องควัน
ปี๊บที่เจาะรูด้านบนเพื่อเป็นปล่องควัน



           2.ก่อกองไฟขึ้นมา เพื่อจะใช้ในการเผาแกลบ ไม่ต้องก่อกองใหญ่มากก็ได้ครับ เอาฟืนนิดหน่อยมาก่อ กะขนาดให้พอดีกับปี๊ปนะครับ เพื่อที่เวลาเอาปี๊ปคลุมลงไปจะได้พอดี เพราะถ้าก่อใหญ่กว่าปากแล้ว จะเอาปี๊ปลงไปยาก เพราะปี๊ปมันร้อน แล้วเราค่อยเอาฟืน ใส่ไปทางปล่องไฟทีหลังก็ได้ครับ 



สุมไฟเพื่อเผาแกลบกองเล็กๆพอครับ
สุมไฟเพื่อเผาแกลบกองเล็กๆพอครับ

ปี๊บที่ประกอบเสร็จแล้วเตรียมนำมาใช้ครับ
ปี๊บที่ประกอบเสร็จแล้วเตรียมนำมาใช้ครับ

นำปี๊บมารอบลงบนกองไฟที่สุมไว้
นำปี๊บมารอบลงบนกองไฟที่สุมไว้

           3.เอาแกลบ ลงไปใส่ในปี๊ปที่เราเตรียมไว้ ครั้งนี้อาตมาใช้แกลบ4กระสอบ ใช้เวลาในการเผา ประมาณ  ชั่วโมง ครึ่ง เวลาที่เอาแกลบลงไป แกลบจะเริ่มเผา เราต้องคอยกลับแกลบ ให้เผาให้สุก ให้ทั่วกันครับ ในระหว่างที่เรา เราสามารถ รดน้ำผักควบคู่กันได้ สัก10นาที ค่อยมากลับแกลบ ให้ส่วนที่ข้างนอกกลับเข้าไปข้างใน ตอนนี้แกลบจะทำการเผาแกลบกันเอง  ก่อนเอาแกลบลงนะครับ ปล่อยให้ไฟในเตา ร้อนสักระยะนึงก่อน ค่อยเอาแกลบเทลงไปนะครับ 



เทแกลบลงไปสุมให้ท่วมปี๊บ
เทแกลบลงไปสุมให้ท่วมปี๊บ


แกลบที่เผาเริ่มไหม้
แกลบที่เผาเริ่มไหม้
แกลบเริ่มไหม้มากขึ้น
แกลบเริ่มไหม้มากขึ้น

ต้องคอยกลับแกลบเรื่อยๆครับ
ต้องคอยกลับแกลบเรื่อยๆครับ

           ต้องคอยกลับแกลบนะครับ ให้แกลบที่อยู่ด้านนอก ผสมกับแกลบที่โดนเผาแล้ว ให้แกลบเผากันเอง ผสมๆให้ทั่วกัน สัก10 นาที ค่อยมากลับแกลบ หรืออาจจะน้อยกว่ากันก็ได้ ส่วนฟืนต้องคอยเติมลงไปในปล่องไฟ ไม่ต้องเติมเยอะนะครับ กะเอาครับ




กลับแกลบโดย 10 นาทีมากลับสักครั้งนึง
กลับแกลบโดย 10 นาทีมากลับสักครั้งนึง

แกลบจะค่อยๆดำไปเรื่อยๆครับ
แกลบจะค่อยๆดำไปเรื่อยๆครับ

แกลบดำที่เริ่มจะใช้ได้แล้ว
แกลบดำที่เริ่มจะใช้ได้แล้ว

เมื่อได้แกลบดำแล้ว สุดท้าย เราก็รดน้ำเพื่อลดความร้อนของแกลบดำ




แกลบเป็นสีดำทั่วแล้ว
แกลบเป็นสีดำทั่วแล้ว


ฉีดน้ำเพื่อคลายความร้อนเป็นอันเสร็จครับ
ฉีดน้ำเพื่อคลายความร้อนเป็นอันเสร็จครับ


           เพียงเท่านี้เกษตรกรอย่างเราก็สามารถมีแกลบดำไว้ใช้ได้อย่างง่ายๆครับ จะนำไปใส่ต้นไม้หรือใส่พืชผักของเราได้โดยที่ไม่ต้องไปซื้อในปริมาณที่มากๆ ทำทุกวันเดี๋ยวก็ได้ในปริมาณที่เยอะเองครับ

**ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก มหาบ้านนอก ใน เกษตรพอเพียง 






ทนัญชัย อริยเกศมงคล
สวนไผ่อริยะ@ระยอง
Line : tapootom
Tel : 086-3572098
https://www.facebook.com/ariyabamboo
http://ไผ่ตงลืมแล้ง.blogspot.com
E-mail : tapoo.tom@gmail.com