ไผ่ตงลืมแล้งสวนไผ่อริยะ@ระยอง

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การทำปุ๋ยหมักใช้เองเพื่อลดต้นทุน

ปุ๋ยแพงแต่ก็ต้องใช้แล้วจะทำยังไงกันดี



           ในการปลูกพืชต่างๆทุกคนคงหลีกเลี่ยงการให้ปุ๋ยแก่พืชที่เราปลูกไม่ได้แต่จะดีกว่าหรือเปล่าหากเราสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ยที่จะนำมาใช้ด้วยการทำเองแบบง่ายๆไม่ยุ่งยาก
วิธีการทำก็แสนง่ายดังรายระเอียดดังต่อไปนี้

1. การเตรียมสถานที่ 


           บริเวณที่จะตั้งกองปุ๋ยควรเป็นที่ๆ น้ำไม่ ท่วม แต่ก็อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ที่จะนำมาใช้รดกองปุ๋ยพอสมควร และควรเป็นบริเวณ ที่สามารถขนย้ายเศษพืชมาใช้หมักได้ง่าย รวมทั้งเอาปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วไปใช้ได้สะดวก บริเวณที่จะกองปุ๋ยหมักให้ปรับให้เรียบไม่เป็นแอ่งให้น้ำขังได้


2. วัสดุที่ใช้


           - เศษพืช


           - มูลสัตว์


           - ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต




3. การตั้งกอง

       
           นำเศษวัสดุมากองบนพื้นดิน ขนาดของกอง กว้าง 2.5 เมตร สูง 1.2 เมตร ยาว 4 เมตร ถ้าต้องการหมักเศษพืชจำนวนมากกว่านี้ ก็อาจตั้งกองปุ๋ยให้ยาวขึ้น หรือตั้งเป็นกองใหม่อีกกองหนึ่ง การตั้งกองจะทำ เป็นชั้นๆ ระหว่างเศษพืชปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมี ดังนี้

           (1) ชั้นล่างสุด กองเศษพืชลงไปในขอบเขตกว้างยาวที่กำหนดไว้ กองให้สูงพอประมาณ กะว่าหลังจากรดน้ำแล้ว กองเศษพืชจะ หนาประมาณ 6-8 นิ้ว.

           (2) โรยมูลสัตว์ลงบนเศษพืชให้ทั่ว ใช้มูลสัตว์ประมาณ 1 บุ้งกี๋ ต่อ พื้นที่ 1-2 ตารางเมตร (ใช้มูลสัตว์ประมาณ 5-10 บุ้งกี๋ต่อชั้น)คลุกเคล้าให้มูลสัตว์ผสมเข้าไปในเศษพืช

           (3) รดน้ำให้ทั่ว ถ้าเศษพืชที่นำมากองเป็นเศษพืชแห้ง ไม่ค่อยเปียกน้ำ ต้องรดน้ำให้โชก เพื่อให้เศษพืชเปียกโดยทั่วถึงกัน แต่ถ้าเป็นเศษพืชสด ก็รดน้ำแค่พอให้เศษพืชเปียกชื้น

           (4) หว่านปุ๋ยเคมี
               - ถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียให้ใช้ปุ๋ยประมาณ 1.5-2 กิโลกรัมต่อชั้น
               - ถ้าใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ให้ไช้ปุ๋ยประมาณ 3-4 กก. ต่อชั้น

           (5) เริ่มต้นกองเศษพืชในชั้นที่ 2 โดยวิธีเดียวกันกับในชั้นที่ 1 คือ
               - กองเศษพืช
               - โรยมูลสัตว์
               - รดน้ำ จนเศษพืชเปียกชื้นโดยทั่วถึงกัน
               - หว่านปุ๋ยเคมี

           กองเศษพืชเป็นชั้นๆ เช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งได้กอง ปุ๋ยสูงตามขนาดที่ต้องการคือ 1.20 เมตร ซึ่งจะมีจำนวนชั้นของ กองเศษพืชประมาณ 6-8 ชั้น ในชั้นสุดท้ายหลังจากโรยปุ๋ยเคมี แล้ว ต้องรดน้ำตาม เพื่อให้ปุ๋ยเคมีละลายเข้าไปในกองปุ๋ย

4. การปฏิบัติดูแล


           - รดน้ำ หมั่นตรวจตราคอยรดน้ำกองปุ๋ยอยู่เสมอ อย่าให้กองปุ๋ย แห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 วัน หลังจากเริ่มตั้งกอง เศษพืชบางส่วนอาจจะยังค่อนข้างแห้ง อาจต้องรดน้ำให้เศษพืชเปียกชื้นอย่างทั่วถึงกัน เสียก่อน จากนั้น จึงค่อยตรวจตราเป็นระยะๆ แต่ก็ต้องระวังอย่ารดน้ำจนแฉะ เกินไป

           - การกลับกองปุ๋ย หลังจากตั้งกองปุ๋ยหมักแล้ว ต้องทำการกลับ กองปุ๋ยหมักอยู่เสมอ ยิ่งกลับกองบ่อยครั้งจะยิ่งเร่งให้เศษพืชแปรสภาพไปเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น อย่างน้อยที่สุดควรได้กลับกองปุ๋ยสัก 3-4 ครั้ง คือ ครั้งแรกเมื่อ ประมาณ 10 วัน หลังจากเริ่มตั้งกองปุ๋ย ครั้งที่สองก็ประมาณ 15 วัน หลังจาก กลับกองครั้งแรก ต่อไปก็กลับกองทุกๆ 20 วัน จนเศษพืชแปรสภาพไปเป็น ปุ๋ยหมักทั้งกอง

           - ถ้าฝนตกชุก ต้องระวังอย่าให้กองปุ๋ยเปียกแฉะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเศษพืชย่อยสลายไปมากแล้ว ควรพูนด้านบนของกองให้ไค้งนูนและหา วัสดุคลุมไว้บ้าง ไม่ให้น้ำฝนไหลเข้าในกองปุ๋ยมากเกินไป

5. การเก็บรักษา


           หลังจากหมักเศษพืชไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้ว ความร้อนภายในกองปุ๋ยจะค่อยๆ ลดลง เศษพืชก็เปื่อยยุ่ย สีคล้ำขึ้น เรื่อยๆ จนในที่สุดกองปุ๋ยก็เย็นตัวลง เศษพืชก็แปรสภาพไป กลายเป็นปุ๋ยหมัก ที่มีเนื้อปุ๋ยร่วนๆ เป็นขุย ยุ่ย นุ่มมือ สีน้ำตาลเข้ม ไม่มีกลิ่นเหม็น ระยะเวลาตั้งแต่ เริ่มตั้งกองจนถึงระยะที่กองปุ๋ยไม่ร้อนสามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัย นี้ ใช้เวลาประมาณสองเดือนครึ่ง ถึงสามเดือนครึ่งอาจเร็วหรือช้าไปกว่านี้ บ้าง ถ้ายังไม่นำปุ๋ยหมักนี้ไปใช้ทันที ควรเก็บรักษาไว้ไนที่ร่ม มีหลังคากันแดด กันฝนหรือหาวัสดุคลุมไว้ไม่ให้ถูกฝนชะ ควรรักษาให้กองปุ๋ยชื้นและอัดกองปุ๋ย ให้แน่น

           เพียงเท่านี้เราก้อจะได้ปุ๋ยมาใช้เองโดยมีต้นทุนที่น้อยลงกว่าเดิมมากเลยทีเดียวครับ ทำเรื่อยๆก้อจะมีปุ๋ยไว้ใช้ไปตลอดครับผม





ทนัญชัย อริยเกศมงคล
สวนไผ่อริยะ@ระยอง
Line : tapootom
Tel : 086-3572098
https://www.facebook.com/ariyabamboo
http://ไผ่ตงลืมแล้ง.blogspot.com
E-mail : tapoo.tom@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น